ความตกลงเชงเกน (Schengen Agreement) สู่ความแข็งแกร่งของสหภาพยุโรป
หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า วีซ่าเชงเกน และทราบว่าถ้าถือวีซ่านี้
สามารถไปได้หลายประเทศในทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี ฯลฯ
โดยไม่ต้องของวีซ่าอีก ทว่า แท้จริงแล้ว วีซ่าเชงเกน คืออะไร และมีความสำคัญเช่นใด
วีซ่าเชงเกน เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือเชงเกน ( Schengen)
ซึ่งเป็นข้อตกลงที่มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ “ การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล ”
อันเป็นหนึ่งในเป้าหมาย 4 ประการของตลาดร่วมยุโรป
(อันได้แก่ การเคลื่อนไหวอย่างเสรีของสินค้า บริการ ทุน และบุคคล) เป็นจริงขึ้นมา
โดยในช่วงทศวรรษที่ 1980 มีประเทศสมาชิกประชาคมยุโรปบางประเทศเห็นว่า
“ การเคลื่อนไหวเสรีของบุคคล ” นี้ ควรจะครอบคลุมนอกเหนือไปจาก
ประชาชนของประเทศสมาชิกประชาคมยุโรป โดยรวมถึงจนถึงบุคคล
ที่ไม่ใช่ประชาชนของประเทศสมาชิกทว่ามาอยู่ในประชาคมยุโรปด้วย
ความตกลงเชงเกน ( Schengen Agreement)
เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอันให้สัตยาบันเมื่อ พ.ศ. 2528
สาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกั
นโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ข้อตกลงนี้มีผลต่อประชากร 4,000,000 คนใน 24 ประเทศ
(21 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครอบคลุมเนื้อที่ 4,268,633 ตารางกิโลเมตร (1,648,128 ตารางไมล์)
นอกจากนั้นยังให้การอนุญาตชั่วคราวกับผู้ถือใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa)
มีสิทธิในการเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชึกโดยถือใบอนุญาตใบเดียว
ตามสนธิสัญญาอัมส์เตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ข้อตกลงและตัดสินใจทุกข้อ
ของความตกลงเชงเกนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของสหภาพยุโรป
ประเทศที่ลงนามในความตกลงฉบับนี้มีด้วยกัน 30 ประเทศ
รวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปทุกประเทศ และประเทศนอกสหภาพอีก 3 ประเทศ
คือ ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่ใช้ความตกลงนี้ สหราชอาณาจักรยังมิได้ใช่กฏนี้
จากที่มีการปฏิบัติข้อตกลงนี้ด่านหรือ
ป้อมตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่อยู่ในเครือเชงเกนก็ถูกรื้อทิ้ง
ความตกลงนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความแข็งแกร่งให้กับสหภาพยุโรปในเวลาต่อมา
ซึ่งสามารถพัฒนา การค้า การลงทุน การติต่อสื่อสารระหว่างกันทั้งภูมิภาค
เกิดตลาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีอำนาจในการต่อรองและกำหนดทิศทางตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น